วันศุกร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2560

ประวัติผู้แต่ง

     พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงเป็นกษัตริย์ไทยพระองค์ที่ ๒ แห่งราชวงศ์จักรีมีพระนามเดิมว่า ฉิม  ครองราชย์ ๗กันยายน พ.ศ.๒๓๕๒ ถึง ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๖๗พระราชสมภพเมื่อวันพุธ ขึ้น ๗ค่ำ เดือน ๔  ปีกุน เวลาเช้า ๕ ยาม ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๑๐เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๔ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชกับกรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ประสูติ ณ บ้านอัมพวา แขวง-เมืองสมุทรสงครามขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงมีพระชนมายุ๑๖ พรรษา    พระราชบิดาจึงโปรดสถาปนาให้ดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศราสุนทร พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเสด็จสวรรคต พระองค์จึงเสด็จขึ้นครองราชย์นับเป็นองค์ที่ ๒ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงครองราชย์อยู่ ๑๕ปี ถึงปี พ.ศ. ๒๓๖๗ได้เสด็จสวรรคต เมื่อพระชนมายุได้ ๕๖พรรษากับ ๕เดือน พระบรมราชสัญลักษณ์ประจำรัชกาลที่๒ ใช้รูปครุฑ  



บทละครรำ เรื่อง อิเหนา มีรูปแบบการแต่งกลอนบทละครซึ่งมีลักษณะบังคับเหมือนกลอนสี่สุภาพ แต่ละวรรคมักจะขึ้นต้นด้วยคำว่า เมื่อนั้น” “บัดนั้นและ มาจะกล่าวบทไปกลอนบทละคร บทหนึ่งมี ๔ วรรค วรรคละ ๖ คำ หนึ่งบทมี ๒ บาท เรียกว่าบาทเอก และบาทโท ๑ บาท เท่ากับ ๑ คำกลอน มีลักษณะการสัมผัสดังนี้





        ท้าวกะหมังกุหนิงส่งทูตไปสู่ขอบุษบา แต่ได้รับการปฏิเสธจากท้าวดาหาจึงเตรียมจัดยกทัพไปตีเมืองดาหาโดยให้พระอนุชา ยกทัพมาช่วย ท้าวกะหมังกุหนิงให้วิหยาสะกำเป็นทัพหน้า พระอนุชาทั้งสองเป็นทัพหลัง
         ฝ่ายท้าวดาหาได้ขอความช่วยเหลือไปยังท้าวกุเรปัน และท้าวกาหลัง และท้าวสิงหาส่าหรี ท้าวกุเรปันส่งราชสารฉบับหนึ่งส่งให้อิเหนายกทัพมาช่วยท้าดาหาทำศึก อีกฉบับส่งไปให้ระตูหมันหยาโดยตำหนินางจินตหราว่าเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดศึกครั้งนี้ ระตูหมันหยารู้สึกผิดจึงเร่งให้อิเหนายกทัพไปเมืองดาหา ส่วนท้าวกาหลังให้ตำมะหงงกับดะหมังคุมทัพมาช่วย ท้าวสิงหัดส่าหรีส่งสุหรานากงผู้เป็นโอรสมาช่วยรบ
          เมื่อทะที่ช่วยเมืองดาหารบมาครบกันแล้ว อิเหนามีบัญชาให้จักทัพรบกับท้าวกะหมังกุหนิง

         ครั้นทั้งสองฝ่ายเผชิญหน้ากัน สังคามาระตาเป็นคู่ต่อสู้กับวิหยาสะกำและสังหารวิหยาสะกำได้ ท้ากะหมังกุหนิงเห็นโอรสถูกสังหารตกจากม้าก็โกรธ ขับม้าไล่ล่าสังคามาระตา อิเหนาจึงเข้าสกัดและต่อสู้ ทั้งสองฝ่ายฝีมือเท่าเทียมกัน จนในที่สุดอิเหนาจึงใช้กริชสังหารท้าวกะหมังกุหนิงได้ ทัพฝ่ายท้าวกะหมังกุหนิงจึงเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ไป



1.ความกล้าหาญ ไม่หวาดหวั่นพรั่นพรึงต่อข้าศึกศัตรู
2.การรู้จักให้อภัยผู้อื่น การไม่ถือโทษโกรธแค้นกัน ให้อภัยต่อกัน
3.รักษาคำสัตย์ การรู้จักรักษาคำพูด เมื่อพูดไว้อย่างไรก็ต้องทำตาม เกิดขึ้นก็ไม่ควรเสียคำพูด
4.ความรักและความหลงใหล ควรรู้จักแยกแยะให้ออกระหว่างความรักกับความหลงใหล



๑.นกเบญจวรรณ เป็นสื่อแสดงความรักของชายและหญิง หรือ กวีกับคนรัก


๒.นกนางนวล เป็นนกที่หากินเหนือผิวน้ำกินทั้งปู ปลา หอย ตลอดจนเมล็ดและต้นอ่อนของพืช


๓.นกเค้าโมงหรือนกฮูก เป็นนกที่บอกให้ คนรู้ว่าภัยอันตรายจะมาเยือนแลจะร้องบอก


๔.นกแขกเต้า เป็นนกที่พบใน อินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชา กินอาหารพวกเมล็ดพืช ลูกไม้ป่า ผลไม้ ยอดไม้ น้ำหวาน และยังเป็นสัตว์คุ้มครอง


๕.นกแก้ว มีความสามารถในการปีนต้นไม้ ได้เก่งเป็นพิเศษ และนำมาฝึกสอนให้พูดภาษาของมนุษย์ได้แทบทุกชนิด


๖.นกคับแค ลำตัวเป็นสีขาว ปากแหลม ขายาว ชอบหากินตามแหล่งน้ำ



๗.นกตระเวนไพร ลำตัวสีน้ำตาล ปากแหลม คอ อก และท้องสีขาว หางยาว มักหากินเป็นฝูงและส่งเสียงตลอดเวลา 











กิดาหยั่น หมายถึง ผู้มีหน้าที่รับใช้ใกล้ชิดพระเจ้าแผ่นดิน

กระยาหงัน หมายถึง สวรรค์

เขนง หมายถึง เขาสัตว์สำหรับใส่ดินปืน

งาแซง หมายถึง ไม้เสี้ยมปลายแหลม วางเอนเรียงเป็นลำดับสำหรับป้องกัน

เจียระบาด หมายถึง ผ้าคาดเอวชนิดหนึ่ง มีชายห้อยที่หน้าขา

ชมพูนุช หมายถึง ทองเนื้อบริสุทธิ์

ดะหมัง หมายถึง เสนาผู้ใหญ่

ตุนาหงัน หมายถึง หมั้น

ไถ้ หมายถึง ถุงสำหรับคาดเอวติดตัวไปในที่ต่างๆ

ประเสบัน หมายถึง ที่พักของเจ้านาย

พันตู หมายถึง ต่อสู้ติดพัน

โพยมบน หมายถึง ท้องฟ้าเบื้องบน

ภัสม์ธุลี หมายถึง ผง ฝุ่น ละออง

คุณค่าด้านเนื้อหา
           แนวคิดเรื่องอิเหนาตอนศึกกะหมังกุหนิง เป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นถึงความรักของพ่อที่มีต่อลูก รักและตามใจทุกอย่าง แม้กระทั่วตัวตายก็ยอม
            ฉาก ตอนศึกกะหมังกุหนิงจะปรากฎฉากรบที่ชัดเจน มีการตั้งค่าย การใช้อาวุธ และการต่อสู้ของตัวละครสำคัญ
            ปมขัดแย้ง ตอนศึกกะหมังกุหนิง มีหลายข้อแย้ง แต่ละปมปัญหาเป็นเรื่องที่อาจเกิดได้ในชีวิตจริงและสมเหตุสมผล เช่น
           ปมแรก คือ ท้าวกุเรปันให้อิเหนาอภิเษกกับบุษบา แต่อิเหนาหลงรักจินตะหราไม่ยอมอภิเษกกับบุษบา
           ปมที่สอง คือ ท้าวดาหาขัดเคืองอิเหนา ยกบุษบาให้จรกา ทำให้ท้าวกุเรปันและพระญาติทั้งหลายไม่พอพระทัย
           ปมที่สาม ท้าวกะหมังกุหนิงมาสู่ขอบุษบาให้วิหยาสะกำ แต่ท้าวดาหายกให้จรกาไปแล้ว จึงเกิดศึกชิงนางขึ้น
           ปมที่สี่ อิเหนาจำเป็นต้องไปช่วยดาหา จินตะหราคิดว่าอิเหนาจะไปอภิเษกกับบุษบา จินตะหราขัดแย้งในใจตนเอง หวั่นใจกับสถานภาพของตนเอง


ประวัติผู้แต่ง       พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงเป็นกษัตริย์ไทยพระองค์ที่ ๒ แห่งราชวงศ์จักรีมีพระนามเดิมว่า ฉิม   ครองราชย์ ๗ก...