วันศุกร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2560


คุณค่าด้านเนื้อหา
           แนวคิดเรื่องอิเหนาตอนศึกกะหมังกุหนิง เป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นถึงความรักของพ่อที่มีต่อลูก รักและตามใจทุกอย่าง แม้กระทั่วตัวตายก็ยอม
            ฉาก ตอนศึกกะหมังกุหนิงจะปรากฎฉากรบที่ชัดเจน มีการตั้งค่าย การใช้อาวุธ และการต่อสู้ของตัวละครสำคัญ
            ปมขัดแย้ง ตอนศึกกะหมังกุหนิง มีหลายข้อแย้ง แต่ละปมปัญหาเป็นเรื่องที่อาจเกิดได้ในชีวิตจริงและสมเหตุสมผล เช่น
           ปมแรก คือ ท้าวกุเรปันให้อิเหนาอภิเษกกับบุษบา แต่อิเหนาหลงรักจินตะหราไม่ยอมอภิเษกกับบุษบา
           ปมที่สอง คือ ท้าวดาหาขัดเคืองอิเหนา ยกบุษบาให้จรกา ทำให้ท้าวกุเรปันและพระญาติทั้งหลายไม่พอพระทัย
           ปมที่สาม ท้าวกะหมังกุหนิงมาสู่ขอบุษบาให้วิหยาสะกำ แต่ท้าวดาหายกให้จรกาไปแล้ว จึงเกิดศึกชิงนางขึ้น
           ปมที่สี่ อิเหนาจำเป็นต้องไปช่วยดาหา จินตะหราคิดว่าอิเหนาจะไปอภิเษกกับบุษบา จินตะหราขัดแย้งในใจตนเอง หวั่นใจกับสถานภาพของตนเอง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ประวัติผู้แต่ง       พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงเป็นกษัตริย์ไทยพระองค์ที่ ๒ แห่งราชวงศ์จักรีมีพระนามเดิมว่า ฉิม   ครองราชย์ ๗ก...